Cinque Terre

Cinque Terre

 

ประวัติมหาวิทยาลัย

              จากสภาพผืนป่าเชิงเขาบริเวณบ้าน ไสใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ถูกปรับสภาพด้วยกำลังแรงกาย แรงใจ จากชาวบ้านนาหลวงเสน ปากแพรก หนองเสม็ดและชะมาย จนกลายเป็นสถานที่ให้ความรู้ด้านเกษตรกรรม ตามแนวคิดของหลวงประจัณจุฑารักษ์ นายอำเภอทุ่งสงและครูชุ่ม ชนะณรงค์ ศึกษาธิการอำเภอทุ่งสงสมัยนั้น ที่ต้องการจะพัฒนาการเกษตรให้กับเกษตรกรอำเภอทุ่งสง ให้มีความเจริญและทันสมัยตามหลักวิชาการ โดยได้รับงบประมาณในการดำเนินการ ๔๐๐ บาท จนผืนป่าจำนวนประมาณ ๕๕๒ ไร่แห่งนี้ได้กลายเป็น “โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ประจำอำเภอทุ่งสง” เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๗๘
โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ประจำอำเภอทุ่งสง
              “โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ประจำอำเภอทุ่งสง” จัดการเรียนการสอนแบบ ให้เปล่า นักเรียนที่เข้าเรียนที่นี่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่จำกัดอยู่ในวงแคบเพราะเปิดรับเฉพาะนักเรียนชายที่สำเร็จการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ ในท้องที่อำเภอทุ่งสง เข้าเป็นนักเรียนกินนอนของโรงเรียนเท่านั้น โดยใช้เวลาในการเรียน ๒ ปี จึงจบหลักสูตร โรงเรียนเปิดดำเนินการได้เพียง ๒ ปี ก็ต้องงดรับนักเรียนในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ทั้งนี้เพื่อเตรียมโอนกิจการเป็นโรงเรียนรัฐบาล ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ มีครูชม มานพพงษ์ เป็นครูใหญ่ต่อจากครูพร้อม วิเชียร และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช”
 
โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ประจำอำเภอทุ่งสง
              “โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ประจำอำเภอทุ่งสง” จัดการเรียนการสอนแบบ ให้เปล่า นักเรียนที่เข้าเรียนที่นี่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่จำกัดอยู่ในวงแคบเพราะเปิดรับเฉพาะนักเรียนชายที่สำเร็จการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ ในท้องที่อำเภอทุ่งสง เข้าเป็นนักเรียนกินนอนของโรงเรียนเท่านั้น โดยใช้เวลาในการเรียน ๒ ปี จึงจบหลักสูตร โรงเรียนเปิดดำเนินการได้เพียง ๒ ปี ก็ต้องงดรับนักเรียนในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ทั้งนี้เพื่อเตรียมโอนกิจการเป็นโรงเรียนรัฐบาล ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ มีครูชม มานพพงษ์ เป็นครูใหญ่ต่อจากครูพร้อม วิเชียร และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช”
โรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช
              โรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช หลังโอนกิจการเป็นโรงเรียนรัฐบาล แต่ภาระหน้าที่ให้ความรู้ยังเน้นในเรื่องเกษตรกรรม มีครูสีนวล บางเลี้ยง เป็นครูใหญ่คนที่ ๓ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ และครูวิธาน สันติ ครูใหญ่คนที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ และเปิดสอนชั้นประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย แผนกเกษตรกรรม หลักสูตร ๓ ปี ขึ้นอีกหนึ่งแผนก จนปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้ยกเลิกหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษาตอนต้นและเปิดหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษา ชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม หลักสูตร ๓ ปี โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า และได้ขยายการรับนักเรียนให้กว้างขึ้นตั้งแต่จังหวัดสุพรรณบุรีลงไปจนถึง จังหวัดนราธิวาส รวม ๒๒ จังหวัด ได้รับเงินอุดหนุนปีละ ๑,๕๐๐ บาทต่อคน จนปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ทุนอุดหนุนได้ยกเลิกไป แต่ภารกิจการเรียนการสอนยังคงดำเนินต่อไป จนปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (เทียบเท่าอนุปริญญา) รับผู้สำเร็จประกาศนียบัตรวิชาชีพแผนกเกษตรกรรม หรือประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ แผนกเกษตรกรรม (ม.ศ.๖ แผนกเกษตรกรรม) เข้าเรียนต่ออีก ๒ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๘ กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราชขึ้นเป็น “วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช” เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๐๘
วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช
              วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ นับเป็นวิทยาลัยแห่งแรกของจังหวัดนครศรีธรรมราช และในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ กรมอาชีวศึกษาได้จัดให้วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราชได้เข้าเป็นวิทยาลัย ในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา (พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๔) โดยได้รับงบประมาณจำนวน ๑๓,๙๗๑,๐๑๒ บาท ในการก่อสร้างอาคารเรียนเป็นตึกสามชั้น (อาคาร ๓ ในปัจจุบัน) อาคารหอพักนักศึกษา 3 หอพัก อาคารปฏิบัติการทางด้านเกษตร-กลวิธาน ๒ หลัง และบ้านพักข้าราชการทั้งแบบครอบครัวและแบบโสด ทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนดีขึ้นเป็นอย่างมาก ผู้ปกครองจึงนิยมส่งบุตรหลายเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี จนปี ๒๕๒๐ วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนโอนไปสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในกระทรวง ศึกษาธิการทั้งนี้เพื่อให้จัดการเรียนการสอนได้ทั้งระดับปริญญาตรีและต่ำ กว่าปริญญาตรีในสายอาชีวศึกษา วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช
                               
                        
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช
              วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช จัดการเรียนการสอนเฉพาะหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกเกษตรกรรม 2 ปี และประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม (ปมก.) 2 ปี และเพื่อเป็นการขยายโอกาสให้ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาได้มีโอกาสศึกษา ต่อในระดับที่สูงขึ้น ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช ได้ขยายพื้นที่รองรับการศึกษานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ไปยังคณะเกษตรศาสตร์นครศรีธรรมราช ณ ป่าสงวนบ้านขอน ไทรหัก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช ได้รับพระราชทานชื่อใหม่เป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นผลให้วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
              สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ภาย หลังได้รับพระราชทาน ชื่อใหม่ อีก 2 ปีต่อมาก็ได้ขยายการศึกษาเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (4 ปี) สาขาพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์และประมง เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่แผนการเรียนวิทยา ศาสตร์-คณิตศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตอีก 1 สาขา คือ สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๔๔ เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป เพื่อขยายการศึกษาให้มีความหลากหลายขึ้น กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๘ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้แยกตัวออกเป็น 9 มหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยรวม 5 หน่วยงานในภาคใต้ ประกอบด้วย วิทยาเขตภาคใต้ วิทยาเขตตรัง วิทยาเขตขนอม คณะเกษตรศาสตร์นครศรีธรรมราช และวิทยาเขตนครศรีธรรมราช เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๘ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จึงเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
              สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ภาย หลังได้รับพระราชทาน ชื่อใหม่ อีก 2 ปีต่อมาก็ได้ขยายการศึกษาเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (4 ปี) สาขาพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์และประมง เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่แผนการเรียนวิทยา ศาสตร์-คณิตศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตอีก 1 สาขา คือ สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๔๔ เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป เพื่อขยายการศึกษาให้มีความหลากหลายขึ้น กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๘ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้แยกตัวออกเป็น 9 มหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยรวม 5 หน่วยงานในภาคใต้ ประกอบด้วย วิทยาเขตภาคใต้ วิทยาเขตตรัง วิทยาเขตขนอม คณะเกษตรศาสตร์นครศรีธรรมราช และวิทยาเขตนครศรีธรรมราช เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๘ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จึงเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช