วันที่ 21 มิถุนายน 2567 ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ ประสงค์จันทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และคณะผู้บริหาร บุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เยี่ยมชมกิจกรรมแคมป์ Hackathon 4 Health พร้อมให้กำลังใจนักศึกษาในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลงาน ณ ห้องประชุม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมกับสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยศูนย์สร้างสรรค์สื่อ สำหรับเด็กเยาวชนและครอบครัว (องค์กรสาธารณประโยชน์ เลขที่ 4314) เปิดโอกาสให้ผู้นำนักศึกษา ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อร่วมออกแบบ สร้างสรรค์แพลตฟอร์มสื่อสารสุขภาวะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงตนเองและสังคม โดย กิจกรรม Hackathon 4 Health จัดขึ้นใน 3 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง ผ่านการ พัฒนาสร้างสรรค์ไอเดียแพลตฟอร์มสื่อสารสุขภาวะในประเด็น”รู้ทันอันตรายบุหรี่ไฟฟ้า” พร้อมนำเสนอ Pitching เพื่อรับทุนสนับสนุนดำเนินกิจกรรมจริงในพื้นที่ปฏิบัติการ Hackathon 4 Health ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 11 – 12 มิถุนายน 2567 พื้นที่จังหวัดตรัง ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จังหวัดตรัง ครั้งที่ วันที่ 13 – 14 มิถุนายน 2567 พื้นที่จังหวัดสงขลา ณ ห้องประชุมชูพันธ์ ชั้น 2 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 3 วันที่ 20 – 21 มิถุนายน 2567 พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ห้องประชุม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)
กิจกรรมแคมป์ Hackathon 4Health ครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ทาง สสส. สำนักระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สน.11) ได้มองเห็นความสำคัญของพลังกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมผ่านการคิดและการลงมือทำด้วยการออกแบบและแก้ไขปัญหาด้วยตนเองให้เกิดเป็นพลังที่สร้างสรรค์ โดยการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะด้วยกัน ถือเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มเยาวชน ได้เข้าถึงกระบวนการคิดแบบนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานในมิติการสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการเชื่อมประเด็นของสถานการณ์บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นปัญหาสำคัญ ตระหนักตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาพร้อมสามารถเป็นพลเมืองสำคัญในการร่วมแก้ปัญหาต่อไป