หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
1. ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration
Program in Logistics Management
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)
ชื่อย่อภาษาไทย : บธ.บ. (การจัดการโลจิสติกส์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration
(Logistics Management)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.B.A. (Logistics Management)
3. วิชาเอก
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
5. รูปแบบของหลักสูตร
6. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 7.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกหลักสูตร หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกหลักสูตร หรือเทียบเท่าทุกแผนการเรียน หรือ 7.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อนุปริญญา (3 ปี) ด้านบริหารธุรกิจหรือเทียบเท่าโดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา - โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา ลักษณะสาขาวิชา อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1. ผู้ปฏิบัติการด้านโลจิสติกส์ 2. คลังสินค้า 3. การขนส่ง 4. การกระจายสินค้า 5. การวางแผนการผลิต 6. การจัดซื้อด้านนำเข้า-ส่งออก 7. รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 8. ผู้ปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศทางโลจิสติกส์ 9. รับราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ไม่มี
129 หน่วยกิต
5.1 รูปแบบ : หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
5.2 ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย
5.3 การรับเข้าศึกษา : รับนักศึกษาไทย และ/หรือนักศึกษาต่างชาติที่มีความรู้ในภาษาไทย
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6.1 ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในด้านการจัดการโลจิสติกส์ เป็นผู้ใฝ่รู้ มีคุณธรรมและจริยธรรม
6.2 ความสำคัญ
การเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตทำให้เกิดการปรับตัวเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลให้ธุรกิจมีการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเปิดเสรีทางการค้าส่งผลให้ภาคธุรกิจ ต้องยกระดับความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อสาร การขนส่ง ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตทั้งสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานฝีมือ การจัดการโลจิสติกส์ จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ผู้ประกอบการใช้เพื่อสร้างโอกาสและความได้เปรียบในการแข่งขัน ในระดับธุรกิจทั้งในและระหว่างประเทศและยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผน สนับสนุน การควบคุมการไหลเวียนของกิจกรรมต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจเช่น การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุนการขนส่ง ไปถึงจุดที่ใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค
หลักสูตรนี้สามารถตอบสนองการพัฒนาทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติได้เป็นอย่างดี
6.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ ทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
2) ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในด้านการจัดการโลจิสติกส์และสามารถประยุกต์ใช้ความรูได้อย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน และศึกษาต่อในระดับสูง
3) ผลิตบัณฑิตให้มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไปเพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติ และให้คิดเป็น ทำเป็น สามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
4) ผลิตบัณฑิตให้มีมนุษย์สัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
5) ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี
7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
7.3 จะต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
งานบริหารงานวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
109 หมู่ที่ 2 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
เบอร์โทรศัพท์ 075-329587, โทรสาร 075-329587