หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาเกษตรกลวิธาน

1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญา: วิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเกษตรกลวิธาน
วท.บ. (เกษตรกลวิธาน)
Bachelor of Science in Agricultural Mechanization
B.Sc. (Agricultural Mechanization)

2. รูปแบบของหลักสูตร
    หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร เทียบโอน

3. ปรัชญา
 ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรมและจริยธรรม  มีความรอบรู้ทั้งทฤษฎีและทักษะ          ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในงานเกษตรกลวิธาน

4. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
 1)  ผลิตบัณฑิต ให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วิชาชีพและปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเสียสละ

2)  ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์ ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสม เพื่อการประกอบวิชาชีพของตนและศึกษาต่อในระดับสูง

3)  ผลิตบัณฑิตให้มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติและให้คิดเป็น ทำได้ สามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

4)  ผลิตบัณฑิตให้มีมนุษยสัมพันธ์และมีความรับผิดชอบในการทำงาน ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวเป็นได้ ทั้งผู้นำและผู้ตามอย่างเหมาะสมและมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน

5)  ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร การวิเคราะห์เชิงตัวเลข รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

6)  ผลิตบัณฑิตให้มีทักษะและกิจนิสัยในการปฏิบัติที่ดี สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านเกษตรกลวิธานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการสมัคร

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายวิชาช่างอุตสาหกรรมหรือเทียบเท่า ทุกสาขา โดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน

2. จะต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ  ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 โดยมีวิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา ดังนี้

1)  โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
2)  โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
3)  โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านกลุ่ม 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
4)  โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

 

ลักษณะสาขาวิชา

  1. ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักรกลเกษตร การใช้งานการจัดการ การซ่อมบำรุง รวมถึงการออกแบบ และพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) พนักงานในหน่วยงานของรัฐ
2)  พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3)  พนักงานขายอุปกรณ์การเกษตร
4)  ธุรกิจเอกชนด้านเครื่องจักรกลเกษตร
5)  พนักงานบริษัทขุดเจาะน้ำมัน
6)  พนักงานบริษัทปาล์มน้ำมัน
7)  ประกอบอาชีพส่วนตัว
8)  เจ้าหน้าที่รังวัดกรมที่ดิน
9)  พนักงานขาย ซ่อมบำรุง เครื่องจักรกลเกษตร